วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

พระมหากษัตริย์นักพัฒนา

พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
           พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระนามเดิมว่า “ พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช” ทรงเป็นพระราชโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และหม่อมสังวาล (ต่อมาได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธย เป็นสมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบอร์น ( MOUNT AUBURN) รัฐเมสสาชูเขตต์ ( MASSACHUSETTS) ประเทศสหรัฐอเมริกา
เมื่อพระชนมายุได้ 5 พรรษา ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนมาแตร์เดอี กรุงเทพมหานคร ต่อจากนั้นทรงเสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในชั้นประถมศึกษา ที่โรงเรียนเมียร์มองต์ (MERRIMENT) เมืองโลซานน์ (LASAGNA) ในปี พ.ศ. 2478 ได้ทรงเข้าศึกษาต่อที่ CEDE NOUBELLE DE LA SUES ROMANCE CHILLY ซึ่งเป็นโรงเรียนเอกชนที่รับนักเรียนนานาชาติ ในระดับอุดมศึกษาทรงเข้าศึกษาในแผนกวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมืองโลชานน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2481 ได้เสด็จนิวัตกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมเชษฐาธิราช พระบรมราชชนนี และสมเด็จพระนางเจ้าพี่นางเธอ
ครั้นเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ทรงเสด็จสวรรคตด้วยพระแสงปืน คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กราบบังคมทูลอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชสมบัติขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงมีพระนามว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดีจักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งในขณะนั้นมีพระชนมาพุเพียง 19 พรรษา เท่านั้น ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

คณะรัฐมนตรีจึงได้แต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ขึ้น ซึ่งประกอบไปด้วย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนารทนเรนทร และพระยามานวราชเทวี เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จะทรงบรรลุนิติภาวะ ทั้งยังทรงมีภารกิจในการศึกษาต่ออีกอย่างหนี้ด้วย ทรงเสด็จกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 และเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ในสาขาวิชารัฐศาสตร์แทนสาขาวิศวกรรมศาสตร์ เนื่องด้วยทรงคำนึงถึงพระราชภารกิจในการปกครองประเทศเป็นสำคัญ

ระหว่างที่ประทับอยู่ต่างประเทศนั้น ได้ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิตติ์ กิติยากร ธิดาในพระวรวงศ์เธอ-กรมหมื่นจันทบุรีสุรนาถ และหม่อมหลวงบัว กิติยากร เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 และได้จัดพระราชพิธีอภิเษกสมรสขึ้นในปี พ.ศ. 2493 และสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินี
ทรงได้เข้าพิธีพระบรมราชาภิเษกในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังจากพระราชะธีพระบรมราชาภิเษกแล้วได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทำการรักษาพระสุขภาพอันเนื่องมาจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ ตามคำแนะนำของแพทย์ชาวสวิตเซอร์แลนด์ และทรงนิวัตกลับประเทศไทยในปี พ.ศ. 2494
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินี มีพระโอรสและพระราชธิดารวม 4 พระองค์ ได้แก่
สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี 

ประสูติเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2494 ต่อมาได้ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์เพื่อสมรสกับชาวต่างชาติ

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ฯ 
ประสูติเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 ต่อมาได้นับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาราช สยามมงกุฎราชกุมาร

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนราชสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ 
ประสูติเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2498 ต่อมาได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรรัฐสีมาคุรากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี

สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี 
ประสูติเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ.2500



พระราชประวัติการศึกษา

เมื่อพุทธศักราช 2475 พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเจริญพระชนมายุ 5 พรรษา ได้ทรงเข้ารับการศึกษาเบื้องต้นที่โรงเรียน มาแตร์เดอี ถนนเพลินจิต กรุงเทพฯ ขณะนั้น ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ การเมืองผันผวน ในเดือน กันยายน 2476 หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา จึงทรงนำพระธิดา พระโอรส เสด็จไปประทับ ณ กรุงโลซานน์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทรงรับการศึกษา
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงเข้ารับการศึกษา ชั้นประถมศึกษา ณ โรงเรียน เมียร์มองต์ ชั้นมัธยมศึกษา ณ โรงเรียน เอโกล นูแวล เดอ ลา สวิส โรมองต์ และโรงเรียน ยิมนาส กลาซีค กังโตนาล ตามลำดับ และทรงได้รับประกาศนียบัตร บาเชอลิเย เอ แลทร์ จากการศึกษา ดังกล่าวทรงรอบรู้หลายภาษา ได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมัน และ ละติน ต่อจากนั้น ทรงเข้าศึกษาระดับอุดมศึกษา แผนกวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยโลซานน์
ครั้นถึงวันที่ 2 มีนาคม 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศสละราชสมบัติรัฐบาลจึงกราบทูลอัญเชิญ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งสืบสายราชสันตติวงศ์ ลำดับที่ 1 และมีพระชนมายุเพียง 9 พรรษา เสด็จเถลิงถวัลยราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ 8 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งได้ทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงสถาปนา หม่อมสังวาลย์ มหิดล ณ อยุธยา เป็น พระราชชนนีศรีสังวาลย์ และทรงสถาปนา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยานิวัฒนาเป็น สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา
สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลเดช ได้โดยเสด็จพระบรมเชษฐาธิราช สมเด็จพระราชชนนีและสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ นิวัฒพระนคร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อ เดือน พฤศจิกายน 2481 ประทับ ณ พระตำหนัก จิตลดารโหฐาน สวนจิตลดา เป็นเวลา 2 เดือน แล้วเสด็จกลับไปทรงศึกษาต่อ ณ กรุงโลซานน์

ต่อมาได้เสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งเป็นครั้งที่ 3 เมื่อ 5 ธันวาคม 2488 ในครั้งนี้ ปวงชนชาวไทยในแผ่นดินที่พระมหากษัตริย์มิได้ประทับเป็นประมุขยาวนานกว่า สิบปี ต่างปลาบปลื้มปิติชื่นชมโสมนัส ที่ได้ชื่นชมพระบารมี สมเด็จพระยุวกษัตริย์ ซึ่งมีพระชนมพรรษา เพียง 20 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ พระชนมพรรษา 18 พรรษา

ทั้งสองพระองค์เสด็จเสด็จพระราชดำเนินเคียงคู่กันไปทรงเยี่ยมราษฎร ณ ที่ต่าง ๆ ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง แต่ความชื่นชมโสมนัสนั้น ดำรงอยู่มินาน ครั้งถึงวันที่ 9 มิถุนายน 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ได้เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งบรมพิมานในพระบรมมหาราชวัง

พระราชประวัติเสด็จขึ้นครองราชย์

ขณะที่พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช พระชนมพรรษา 18 พรรษา รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีงาศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน นั้น ทรงเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และรัฐบาล ได้แต่งตั้งผู้สำเร็จราชการ บริหารราชกาลแผ่นดินแทนพระองค์ เนื่องจากยังทรงพระเยาว์ และต้องทรงศึกษา ต่อ ณ ต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2498 ได้เสด็จพระราชดำเนิน กลับไปทรงศึกษา ต่อ ณ กรุงโลซานน์ แม้พระองค์จะทรงโปรดวิชาวิศวกรรมศาสตร์แต่เพื่อประโยชน์ในการปกครองประเทศได้ทรงเปลี่ยนมาศึกษา วิชาการปกครองแทน เช่น วิชากฎหมาย อักษรศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ ภูมิศาสตร์ นอกจากนี้ ทรงศึกษา และฝึกฝนการดนตรีด้วยพระองค์เองด้วย
ใน พ.ศ. 2491 ระหว่างทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงขับรถยนต์ไปทรงร่วมงานที่สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ได้ทรงพบและมีพระราชหฤทัยสนิทเสน่หาใน หม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร ธิดาของหม่อมเจ้านักขัตมงคล กิติยากร เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส
ในปีเดียวกันนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง ทรงบาทเจ็บที่พระพักตร์พระเนตรขวา และพระเศียร ทรงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลมอร์เซส์ โปรดฯให้หม่อมเจ้าราชวงศ์สิริกิติ์มาเฝ้าฯ ถวายการดูแลอย่างใกล้ชิด พระสัมพันธภาพจึงแน่นแฟ้นขึ้น และต่อมาได้ทรงหมั้น หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2492 โดยได้พระราชทานพระธำมรงค์วงที่สมเด็จพระบรมราชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงได้รับการอภิบาลอย่างดียิ่งจากสมเด็จพระราชชนนี จึงมีพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง และมีพระจริยวัตรเปี่ยมด้วยคุณธรรมทุกประการ ซึ่งน้อมนำให้พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงดำรงสิริราชสมบัติเพียบพร้อมด้วยทศพิศราชธรรม จักรวรรดิวัตรธรรมและราชสังคหวัตถุ ทรงเจริญด้วยพระเกียรติคุณบุญญาธิการเจิดจำรัส ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทั้งปวงเพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นที่แซ่ซ้องสรรเสริญทุกทิศานุทิศในเวลาต่อมาตราบจนปัจจุบัน
ในส่วนตัวของข้าพเจ้าแล้ว มีความตั้งใจที่อยากจะศึกษาเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน นับตั้งแต่ที่ทรงเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี 2489 เป็นต้นมา นับเป็นเวลา 62 ปีที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจอย่างต่อเนื่องเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในแผ่นดิน ในปีนี้ ทุกองคาพยพของสังคมไทยก็ล้วนที่จะตั้งใจทำความดีถวายแด่พระองค์ท่าน
            ปีนี้นับเป็นปีมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเฉลิมพระชนมมายุ 7 รอบ 84 พรรษา ซึ่งพวกเราชาวไทยทุกคนล้วนปราบปลื้ม และร่วมจิตอธิษฐานให้พระองค์ทรงพระเจริญ ยิ่งยืนนาน และทรงพระเกษมสำราญ  

ดังปรากฏเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินับพันโครงการ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ราษฎรไทยในท้องถิ่นชนบทมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน ตลอดจนดำเนินชีวิตได้อย่างพอเพียง
สำหรับการศึกษาพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน ข้าพเจ้าได้อ่านพบในหนังสือ “โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ของชนิดา ชิตบันฑิตย์ ที่ได้ค้นคว้าศึกษาอย่างเป็นระบบมากที่สุด ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอื่นเนื่องมาจากพระราชดำริ (หรือ สำนักงาน กปร. : แต่งตั้งโดยรัฐบาลในสมัยพลเอกเปรม ตินสูลานนท์ เมื่อปี 2524 เพื่อทำหน้าที่เป็นเลขานุการของ “คณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” ในการดำเนินการควบคุม กำกับ ดูแล ติดตามผล ประสานการดำเนินงานในส่วนของหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มีการดำเนินงานสนองพระราชดำริได้อย่างมีประสิทธิภาพ)

โครงการอันเนื่่องมาจากพระราชดำริ 
              
  ได้แบ่งประเภทของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริออกเป็น 4 ลักษณะได้แก่ 
1. โครงการตามพระราชประสงค์ หมายถึง โครงการที่ศึกษาและทดลองปฏิบัติเป็นการส่วนพระองค์ ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เองในการดำเนินงานทดลอง ต่อมาเมื่อทรงแน่พระทัยแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเข้ามารับช่วงดำเนินการต่อ ตัวอย่างของโครงการดังกล่าว ได้แก่ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โครงการหุบกะพงตามพระราชประสงค์ เป็นต้น
2. โครงการหลวง หมายถึง โครงการส่วนพระองค์ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากราษฎร รัฐบาลไทยและต่างประเทศ รวมทั้งสำนักงาน กปร. โดยทรงเจาะจงดำเนินการพัฒนาและบำรุงรักษาต้นน้ำลำธารในบริเวณภาคเหนือ โครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่ดำเนินกิจการโดยตรงกับชาวเขาโดยร่วมปฏิบัติผสมผสานกับหน่วยงานของรัฐบาลในพื้นที่ต่าง ๆ ในภาคเหนือ บางโครงการมีลักษณะการดำเนินงานแบบโครงการตามพระราชดำริ
3. โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ หมายถึง โครงการที่ทรงพระราชทานข้อแนะนำและแนวพระราชดำริให้เอกชนไปดำเนินการ ด้วยกำลังเงิน กำลังปัญญา และกำลังแรงงาน พร้อมทั้งการติดตามผลงานให้ต่อเนื่องโดยภาคเอกชนเอง เช่น โครงการหมู่บ้านสหกรณ์โนนดินแดง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งสโมสรโรตารีแห่งประเทศไทยเป็นผู้จัดและดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ โครงการพจนานุกรม และโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เป็นต้น
4. โครงการตามพระราชดำริ หมายถึง โครงการที่ทรงวางแผนพัฒนา ทรงเสนอแนะให้รัฐบาล ร่วมดำเนินการตามพระราชดำริ โดยจะร่วมทรงงานกับหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งมีทั้งฝ่ายพลเรือน ตำรวจ และทหาร
โครงการนี้ปัจจุบันมีกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคในประเทศไทย อาทิ โครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นต้น
ทว่าความสำเร็จของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น หาได้เกิดขึ้นเพียงเพราะพระราชหฤทัยที่มุ่งมั่นในการพัฒนาประเทศและคุณภาพชีวิตของประชาชน หากยังเป็นผลมาจากพระอัจฉริยภาพ พระปรีชาสามารถ ตลอดจนพระวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันเป็นที่ประจักษ์แก่ปวงชนชาวไทยและนานาอารยประเทศมาโดยตลอด
ดังจะเห็นได้จากคำกล่าวสุนทรพจน์ของนายโคฟี อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติที่ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรางวัล “ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์” เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2549 ความตอนหนึ่งว่า (สารคดี, ฉ.256)
“พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับการขนานนามจากชาวโลกว่า ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา พระองค์ทรงเยี่ยมเยียนพสกนิกรที่ยากไร้และด้อยโอกาสทั่วทุกภูมิภาค พระราชทานแนวทางการดำรงชีพ พระราชทานปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ชี้แนวทางการพัฒนาที่มุ่งเน้นความสมดุล องค์รวม และยั่งยืน โดยเน้นหลักการความพอประมาณและการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอที่จะต้านทานและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว อันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์ ปรัชญาดังกล่าวซึ่งเน้นแนวทาง“การเดินสายกลาง” ทำให้สหประชาชาติมีปณิธานมุ่งมั่นพัฒนาคน ให้ประชาชนเป็นเป้าหมายศูนย์กลางในการพัฒนา เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนต่อไป 
ข้าพเจ้าขอถือโอกาสหยิบยก (สารคดี ฉ.256) บางส่วนเสี้ยวจากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินับพันโครงการ ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่แนวพระราชดำริอันทรงคุณค่า 

 โครงการพระราชดำริฝนหลวง (แนวคิดเกี่ยวกับการทำฝนเทียมเริ่มเมื่อปี 2489 และปี 2515 ทรงบัญชาการทำฝนหลวงสาธิตให้ผู้แทนจากสิงคโปร์ชมด้วยพระองค์เอง)
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (เมื่อราษฎรอำเภอพนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา น้อมเกล้าถวายที่ดิน 264 ไร่ เพราะเห็นว่าที่ใดที่ในหลวงเสด็จพระราชดำเนินไป ก็จะได้รับการพัฒนาให้เจริญขึ้น และต่อมาถือกำเนิดขึ้น นับเป็นศูนย์ฯ แห่งแรกที่เน้นการพัฒนาคนตามแนวเกษตรยั่งยืน ซึ่งได้กลายเป็นต้นแบบให้แก่ศูนย์ฯ อื่น ๆ ที่กระจายอยู่ทุกภูมิภาคของประเทศไทยในเวลาต่อมา)
- ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ภายหลังแปรพระราชฐานมายังพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ เมื่อปี 2524 ทรงมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรในจังหวัดนราธิวาส เพื่อแก้ปัญหาดินคุณภาพต่ำ โดยให้มีหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการศึกษาและพัฒนาพื้นที่พรุร่วมกันแบบผสมผสาน)


 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าภูล้อมข้าว จ. สกลนคร เพื่อแก้ปัญหาความแห้งแล้ง ความยากจน และการขาดแคลนทรัพยากร ของคนอีสาน และศูนย์นี้เป็นห้องทดลองทางการเกษตรที่จะคอยสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการให้แก่เกษตรกรนำไปใช้ได้จริง)
- การผลิตแอลกอฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา (ถือกำเนิดขึ้นในปี 2528 เพื่อแก้ปัญหาเรื่องพลังงาน ด้วยการนำผลิตผลด้านการเกษตรมาทำเป็นเชื้อเพลิง ด้วยการนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกฮอล์เพื่อใช้เป็นพลังงานทดแทน)
ฯลฯ 
       ข้าพเจ้าเชื่อว่า การได้ศึกษาตามแนวทางพระราชดำริ พระมหากษัตริย์นักพัฒนา ตลอดจนการไม่เคยหยุดทรงงานสะท้อนให้เห็นถึงพระวิริยะอุตสาหะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ความสุข” ในการ “ทรงงาน” เพื่อพสกนิกรของพระองค์
ทำให้คนไทยทุกคนรักพระเจ้าอยู่หัวและขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนานเป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทยสืบไป
           และในการนี้สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ได้ทูลเกล้าถวายรางวัล “ความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ (The Human Development Lifetime Achievement Award) “เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งเป็นรางวัลชิ้นแรก ที่จัดทำขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองสิริราชสมบัติ ครบหกสิบปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากการที่ได้ทรงอุทิศกำลังพระวรกายและทรงพระวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติพระ ราชกรณียกิจน้อยใหญ่นานัปการ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของปวงชนชาวไทยอยู่เป็นนิจศีล จนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก จึงต่างกล่าวขานพระนามพระองค์ว่าทรงเป็น “พระมหากษัตริย์ นักพัฒนา” ทั้งนี้เพราะเป็นพระราชหฤทัยเปี่ยมล้นด้วยพระเมตตาต่อพสกนิกรผู้ยากไร้และ ผู้ด้อยโอกาส โดยไม่ทรงแบ่งแยกสถานะ ศาสนา ชาติพันธุ์ หรือหมู่เหล่า ทรงสดับรับฟังปัญหาความทุกข์ยากของราษฏร พระราชทานแนวทางการดำรงชีวิตเพื่อให้ประชาชนของพระองค์สามารถพึ่งพาตนเองได้ อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน มีโครงการในพระราชดำริต่าง ๆ เพื่อพัฒนาชนบทที่จำนวนมากมายและมิอาจนับได้ ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ความรู้และนวัตกรรมที่เอื้อต่อความก้าวหน้าในการพัฒนา ยังประโยชน์ให้แก่พสกนิกรทั่วหล้า อาทิโครงการที่มุ่งเน้นการเกษตรขนาดเล็กด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม ตามแนวทางทฤษฎีใหม่ โครงการที่มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โครงการป้องกันและบรรเทาความเดือดร้อนจากน้ำท่วมด้วยการสร้างเขื่อน ฝ่ายน้ำล้น อ่างเก็บน้ำ โครงการฝนหลวงเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง
     ปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” ด้วยพระปรีชาสามารถในการเป็นนักคิด และคุณูปการต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนส่งผลให้นานาประเทศตื่นตัวในการปรับรูปการ พัฒนาอย่างยิ่งภายใต้แนวคิดใหม่ ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อประชาราษฏร์ได้พระราชทานปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อชี้ถึงแนวทางการพัฒนาที่เน้นความสมดุล ความพอประมาณ ความมีเหตุผล สำนึกในคุณธรรม และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอที่จะต้านทานและสมดุลความพอประมาณ ความมีเหตุผล สำนึกในคุณธรรม และการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี พอที่จะต้านทานและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จากกระแสโลกาภิวัฒน์ ด้วยปรัชญานี้องค์การสหประชาชนจึงมุ่งเน้นเพียรพยายามและส่งเสริมการพัฒนาคน ให้ความสำคัญต่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นเป้าหมายศุนย์กลางในการพัฒนา
     ซึ่่ง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั้นนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ผู้ทูลเกล้าฯ ถวายรงวัล The Human Development Lifetime Achievement Award ได้มีปาฐกถาถึง และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด เป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก ๑๖๖ ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน



ที่มาจาก : พระมหากษัตริย์นักพัฒนา.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://www.belovedking.com. สืบค้นเมื่อวันที่26 เดือนสิงหาคม 2554
                                                                   
                                                                   
โดยนายศักดิ์ดา แว่นเนตร